ในชีวิตประจำวัน การเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับการใส่อาหารเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งในแง่ของความปลอดภัยต่อสุขภาพ ความสะดวกในการใช้งาน และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กล่องอาหารพลาสติกและกล่องโฟมเป็นตัวเลือกที่หลายคนนิยมใช้งาน แต่คำถามคือ แบบไหนปลอดภัยและเหมาะสมกับการใช้งานกว่ากัน? บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจข้อดี ข้อเสีย และความเสี่ยงของแต่ละประเภท เพื่อช่วยคุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
กล่องพลาสติกใส่อาหาร
บรรจุภัณฑ์พลาสติกถือเป็นตัวเลือกยอดนิยมในหลายครัวเรือน เนื่องจากความหลากหลายในการใช้งานและความคุ้มค่าที่สามารถใช้งานซ้ำได้
ข้อดี:
- มีหลายประเภทและทนทาน: พลาสติกสำหรับใส่อาหารที่ปลอดภัยมักทำจากโพลีโพรพิลีน (Polypropylene: PP) หรือโพลีเอทิลีน (Polyethylene: PE) ซึ่งทนความร้อนและปลอดภัย และยังมีความแข็งแรงสามารถใช้ซ้ำได้หลายครั้ง
- ทนความร้อน: พลาสติกเกรดสำหรับไมโครเวฟสามารถใส่อาหารร้อนได้โดยไม่ปล่อยสารอันตราย
- เหมาะกับการใช้งานหลากหลาย: กล่องพลาสติกมีหลายขนาดและรูปแบบ ทำให้เหมาะสำหรับการบรรจุอาหารทั้งร้อน เย็น หรืออาหารเหลว
- เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าโฟม (ในบางกรณี): พลาสติกที่สามารถรีไซเคิลได้ช่วยลดปริมาณขยะและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ข้อเสีย:
- ความเสี่ยงจากสารเคมี: พลาสติกบางประเภท เช่น พีวีซี (PVC) หรือพลาสติกที่ไม่ได้รับมาตรฐาน อาจปล่อยสารบิสฟีนอลเอ (BPA) และพาทาเลต (Phthalates) ซึ่งมีผลกระทบต่อฮอร์โมนและสุขภาพระยะยาว พลาสติกเกรดต่ำอาจเสื่อมสภาพเมื่อโดนความร้อน
- ไม่เหมาะกับการใช้งานทุกประเภท: พลาสติกบางชนิดไม่สามารถใช้กับไมโครเวฟหรือใส่อาหารร้อนจัดได้
กล่องโฟมใส่อาหาร
กล่องโฟมเป็นที่นิยมใช้ในร้านอาหารหรืออาหารสำเร็จรูป เนื่องจากราคาถูกและมีน้ำหนักเบา อย่างไรก็ตาม ความปลอดภัยของกล่องโฟมยังคงเป็นที่กังวลในหลายกรณี
ข้อดี:
- ราคาถูกและหาซื้อง่าย: กล่องโฟมเป็นตัวเลือกที่ราคาถูกที่สุดในตลาด เหมาะสำหรับการใช้งานในธุรกิจอาหาร เช่น ร้านอาหารริมทาง และร้านอาหารตามสั่ง
- น้ำหนักเบา: เนื่องจากทำจากโพลีสไตรีน (Polystyrene Foam) จึงมีน้ำหนักเบาและสะดวกต่อการขนส่ง
ข้อเสีย:
- สารเคมีที่เป็นอันตราย: กล่องโฟมทำจากโพลีสไตรีน (Polystyrene) ซึ่งอาจปล่อยสารสไตรีน (Styrene) เมื่อสัมผัสกับอาหารร้อนหรือมัน สารนี้จัดว่าเป็นสารก่อมะเร็งและอาจมีผลกระทบต่อระบบประสาทและฮอร์โมน นอกจากนี้ หากกล่องโฟมไม่ได้รับมาตรฐาน อาจมีสารเคมีอื่น ๆ ปนเปื้อนในอาหาร
- ไม่ปลอดภัยสำหรับอาหารร้อน: การใส่อาหารที่มีอุณหภูมิสูงในกล่องโฟมอาจทำให้โฟมละลายและปล่อยสารอันตรายลงในอาหาร
ความทนทานต่อความร้อน
กล่องพลาสติกใส่อาหาร: พลาสติกบางประเภท เช่น PP สามารถใช้กับไมโครเวฟได้ (ทนความร้อนสูงสุดประมาณ 120°C) หรือแช่แข็ง (-20°C) โดยไม่เสียรูปทรง เหมาะสำหรับการเก็บอาหารร้อน เช่น ซุป หรืออาหารเย็น เช่น ไอศกรีม การเลือกกล่องพลาสติกที่มีสัญลักษณ์ Microwave Safe เป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัย
กล่องโฟมใส่อาหาร: กล่องโฟมไม่เหมาะสำหรับการใช้งานกับอาหารที่มีอุณหภูมิสูง เนื่องจากอาจละลายหรือปล่อยสารเคมีอันตรายเมื่อสัมผัสกับความร้อน โดยทั่วไปเหมาะสำหรับอาหารที่ไม่ร้อนจัดเช่น สลัด หรือขนมปัง และไม่ควรนำมาใช้กับอาหารที่มีอุณหภูมิสูง
ผลกระทบต่อสุขภาพ
กล่องอาหารพลาสติก ที่มีมาตรฐาน Food Grade และ BPA-Free ถือว่าปลอดภัยสำหรับการใช้งาน แม้จะสัมผัสกับความร้อนหรืออาหารมันเยิ้ม เพราะพลาสติกประเภทนี้ไม่ปล่อยสารเคมีที่เป็นอันตราย
ในขณะที่ กล่องโฟม มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะเมื่อใช้กับอาหารร้อนจัดหรือมันเยิ้ม เพราะสารเคมีในโฟมอาจละลายออกมาและสะสมในร่างกาย ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว ผู้ที่ใช้กล่องโฟมบ่อยครั้งมีโอกาสสัมผัสสาร สไตรีน มากกว่า ผู้ที่ไม่ใช้ถึง 3-4 เท่า โดยเฉพาะเมื่อใส่อาหารร้อน
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
กล่องพลาสติกใส่อาหาร:
กล่องพลาสติกใส่อาหาร มีข้อได้เปรียบที่สามารถใช้งานซ้ำและรีไซเคิลได้ (ในบางประเภท เช่น PET หรือ PP) ซึ่งช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกได้หากมีการจัดการที่เหมาะสม
กล่องโฟมใส่อาหาร:
กล่องโฟมใส่อาหารส่งผลกระทบและสร้างปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก เนื่องจากไม่สามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ และการรีไซเคิลทำได้ยากและไม่คุ้มค่า หากเผาในสภาพที่ไม่เหมาะสม จะปล่อยสารพิษ เช่น ไดออกซิน (Dioxin) ซึ่งเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ขยะโฟมส่วนใหญ่จึงมักจบลงในหลุมฝังกลบหรือถูกทิ้งในธรรมชาติ สร้างปัญหามลพิษในระยะยาว
สรุป
เมื่อเปรียบเทียบทั้งด้านความปลอดภัยและการก่อปัญหากับสิ่งแวดล้อม กล่องพลาสติกใส่อาหาร เป็นตัวเลือกที่ดีกว่ากล่องโฟม โดยเฉพาะเมื่อเลือกใช้กล่องพลาสติกที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน Food Grade และปลอดสาร BPA ที่สามารถใช้งานซ้ำได้หลายครั้ง ส่วนกล่องโฟมใส่อาหาร อาจเหมาะสำหรับการใช้งานชั่วคราว แต่ไม่ควรใช้กับอาหารร้อนหรือมันเยิ้มเพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพ
การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม และการหันมาใช้ภาชนะที่นำกลับมาใช้ซ้ำได้จะช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
แหล่งอ้างอิงข้อมูล
โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต เรื่อง สารพิษจากกล่องโฟม
- https://ch9airport.com/th/สารพิษจากกล่องโฟม /#:~:text=กล่องโฟมเป็นขยะมลพิษ,เป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยตรง
Plastic Food Container Safety
- https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC11193405
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เรื่อง โทษของโฟมและพลาสติก
- https://cci.rmutp.ac.th/โทษของโฟมและพลาสติก
สนใจเลือกซื้อ กล่องพลาสติกใส่อาหาร ที่ได้รับมาตราฐาน มอก. สามารถแอดไลน์ @sajjapack เผื่อสอบถามและสั่งซื้อกับแอดมินในเวลาทำการ