ปัจจุบันแคมเปญรักษ์โลกกำลังเป็นที่นิยมและตระหนักถึงในสังคมปัจจุบัน เนื่องจากโลกของเขากำลังเข้าสู่สภาวะโลกเดือดหรือโลกที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆทุกปี ซึ่งส่วนหนึ่งของปัญหาคือของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมและปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นจนไม่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้ทัน วันนี้ Sajjapack จึงขอนำทุกคนไปไขคำตอบว่าบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกอย่างที่หลายคนว่ามันหน้าตาเป็นอย่างไร ย่อยสลายได้หรือไม่ และผลิตมาจากอะไร เพราะเราเชื่อว่าหลายคนยังคงเข้าใจผิดว่าบรรจุภัณฑ์จากกระดาษและพลาสติกบางประเภทเป็นบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจริงๆ
คุณรู้หรือไม่ว่า ในปี 2566 ประเทศไทยมีขยะมูลฝอยเกิดขึ้นประมาณ 26.95 ล้านตัน หรือประมาณ 73,840 ตัน/วัน เฉลี่ยเท่ากับ 1.12 กิโลกรัม/คน/วัน กรุงเทพมหานครสูงสุด 12,748 ตัน/วัน ขณะที่ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ 9.31 ล้านตัน
คุณสมบัติที่จำเป็นของบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก
- การย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Biodegradable): บรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพจะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ตามธรรมชาติ ไม่ทิ้งสารเคมีที่เป็นอันตรายไว้ในสิ่งแวดล้อม
- การนำกลับมาใช้ใหม่ (Reusable): บรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบมาให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้หลายครั้ง ช่วยลดปริมาณขยะที่ถูกทิ้ง
- การรีไซเคิล (Recyclable): บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้เพื่อผลิตเป็นวัสดุใหม่ ช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
- การใช้วัสดุธรรมชาติ (Natural Materials): บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น กระดาษ, ไม้ไผ่, และใยพืช ซึ่งสามารถย่อยสลายได้ง่ายและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย
- การลดการใช้วัสดุ (Reduced Material Use): การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ใช้วัสดุน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยยังคงคุณสมบัติการใช้งาน เช่น ความแข็งแรง และความปลอดภัย
- การใช้วัสดุรีไซเคิล (Recycled Content): การใช้วัสดุที่ได้จากการรีไซเคิลมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ใหม่
ทั้งนี้บรรจุภัณฑ์กระดาษบางชนิดใดที่ไม่สามารถย่อยสลายได้หรือย่อยสลายได้ยากเช่น
- เคลือบด้วยพลาสติกหรือสารเคมี: บรรจุภัณฑ์กระดาษที่เคลือบด้วยพลาสติกหรือสารเคมี เช่น โพลีเอทิลีน (Polyethylene) เพื่อป้องกันความชื้นหรือน้ำ มักจะไม่สามารถย่อยสลายได้ง่ายในธรรมชาติ เนื่องจากสารเคลือบเหล่านี้เป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ยากตามธรรมชาติ
- กระดาษเคลือบแว็กซ์ (Wax-Coated Paper): กระดาษที่เคลือบด้วยแว็กซ์หรือไขมันพิเศษ จะมีความทนทานต่อความชื้นและน้ำมัน แต่การเคลือบนี้จะทำให้การย่อยสลายทางชีวภาพทำได้ยากขึ้น
- กระดาษเคลือบฟอยล์ (Foil-Coated Paper): กระดาษที่มีการเคลือบด้วยฟอยล์อลูมิเนียม มักจะใช้ในบรรจุภัณฑ์อาหารหรือของที่ต้องการป้องกันอากาศและแสง การเคลือบฟอยล์นี้ทำให้กระดาษไม่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
- กระดาษลามิเนต (Laminated Paper): กระดาษที่ผ่านกระบวนการลามิเนตหรือประกบด้วยวัสดุพลาสติกหลายชั้น เช่น PET (Polyethylene Terephthalate) ทำให้กระดาษมีความทนทานและป้องกันการซึมผ่าน แต่ยากต่อการย่อยสลายเป็นอย่างยิ่ง
- กระดาษที่ผ่านการเคลือบด้วยยางหรือเรซิน (Rubber or Resin-Coated Paper): บรรจุภัณฑ์กระดาษที่เคลือบด้วยยางหรือเรซิน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและป้องกันการซึมผ่านของของเหลว แต่จะมีความยากในการย่อยสลายทางชีวภาพ
โดยกระดาษที่มีการเคลือบสารข้างต้นทั้งหมดนั้นจะใช้เวลาย่อยสลายนานกว่ากระดาษธรรมดามาก อาจใช้เวลาหลายเดือนถึงหลายปีในการย่อยสลาย เนื่องจากสารเคลือบเหล่านี้ขัดขวางกระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพ
ส่วนบรรจุภัณฑ์พลาสติกนั้นหากใช้พลาสติกชีวภาพก็จะสามารถทำให้ย่อยสลายได้เร็วกว่าพลาสติกทั่วไป
1. PLA (Polylactic Acid): เป็นพลาสติกที่ทำจากแป้งข้าวโพด น้ำตาลอ้อย หรือวัตถุดิบทางการเกษตรชนิดต่างๆ PLA มีคุณสมบัติย่อยสลายได้ภายใต้สภาวะการทำปุ๋ยหมักเชิงอุตสาหกรรม (Industrial Composting Conditions)
2. PHA (Polyhydroxyalkanoates): เป็นพลาสติกชีวภาพที่ผลิตจากจุลินทรีย์ในกระบวนการหมัก สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพในธรรมชาติและไม่ทิ้งสารเคมีที่เป็นอันตราย
3. PBS (Polybutylene Succinate): เป็นพลาสติกชีวภาพที่มีคุณสมบัติย่อยสลายได้ดีทั้งในสภาพที่มีออกซิเจนและไม่มีออกซิเจน มีความทนทานและสามารถใช้งานได้หลากหลาย
4. Starch-Based Plastics: เป็นพลาสติกที่ทำจากแป้งข้าวโพด แป้งมันสำปะหลัง หรือแป้งพืชอื่น ๆ มีคุณสมบัติย่อยสลายได้ทางชีวภาพแต่ต้องอยู่ในสภาวะที่เหมาะสม เช่น สภาวะการทำปุ๋ยหมัก
5. Cellulose-Based Plastics: คือพลาสติกที่ทำจากเซลลูโลส ซึ่งเป็นวัสดุที่มาจากพืช สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ
ทั้งนี้พลาสติกธรรมดาที่พวกเราพบเจอกันในชีวิตประจำวันมีระยะเวลาย่อยสลายที่แตกต่างกันดังนี้
1. พลาสติกโพลีเอทิลีน (Polyethylene, PE):
• ใช้เวลาในการย่อยสลายนานกว่า 500 ปี
2. พลาสติกโพลีโพรพิลีน (Polypropylene, PP):
• ใช้เวลาในการย่อยสลายประมาณ 20-30 ปี หรือมากกว่านั้นในบางกรณี แต่ไมโครพลาสติกและสารเติมแต่งที่ปล่อยออกมาในระหว่างกระบวนการ ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง
3. พลาสติกโพลีเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene Terephthalate, PET):
• ใช้เวลาในการย่อยสลายนานกว่า 450 ปี
4. พลาสติกโพลีไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl Chloride, PVC):
• ใช้เวลาในการย่อยสลายประมาณ 50-100 ปี หรือมากกว่านั้น
การย่อยสลายขยะจากทั้งกระดาษและพลาสติกตามวิธีตามธรรมชาติมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
การย่อยสลายกระดาษในธรรมชาติ
1. กระบวนการย่อยสลาย:
- ทางชีวภาพ (Biodegradation): กระดาษที่ไม่มีการเคลือบด้วยสารเคมีจะสามารถย่อยสลายได้ง่ายโดยจุลินทรีย์ในธรรมชาติ เช่น แบคทีเรียและเชื้อรา ซึ่งจะย่อยสลายเซลลูโลสในกระดาษเป็นสารอินทรีย์ที่ไม่เป็นพิษ
- ทางกายภาพ (Physical Degradation): กระดาษที่ถูกทิ้งในสิ่งแวดล้อมจะเสื่อมสภาพจากการโดนแสงแดด ฝน และลม ซึ่งจะช่วยให้กระดาษแตกสลายเป็นชิ้นเล็กๆ ทำให้จุลินทรีย์ย่อยสลายได้ง่ายขึ้น
2. สภาวะที่เหมาะสม:
- ความชื้น: กระดาษต้องการความชื้นในการย่อยสลาย จึงมักจะย่อยสลายได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง
- อุณหภูมิ: การย่อยสลายจะเกิดได้เร็วขึ้นในสภาวะที่มีอุณหภูมิสูง
- ออกซิเจน: การย่อยสลายทางชีวภาพของกระดาษต้องการออกซิเจนในการเกิดปฏิกิริยา
การย่อยสลายพลาสติกในธรรมชาติ
- กระบวนการย่อยสลาย:
- ทางชีวภาพ (Biodegradation): พลาสติกชีวภาพ (biodegradable plastics) เช่น PLA (Polylactic Acid) และ PHA (Polyhydroxyalkanoates) จะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรียและเชื้อรา พลาสติกเหล่านี้จะถูกย่อยสลายเป็นน้ำตาลและกรดไขมันที่ไม่เป็นพิษ
- ทางเคมี (Chemical Degradation): พลาสติกบางชนิดสามารถย่อยสลายได้ด้วยปฏิกิริยาเคมี เช่น การแตกตัวโดยแสงอาทิตย์ (Photodegradation) หรือปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidative Degradation)
2. สภาวะที่เหมาะสม:
- ความชื้น: พลาสติกชีวภาพต้องการความชื้นในการย่อยสลาย
- อุณหภูมิ: การย่อยสลายจะเกิดได้เร็วขึ้นในสภาวะที่มีอุณหภูมิสูง
- จุลินทรีย์: การย่อยสลายพลาสติกชีวภาพต้องการจุลินทรีย์ที่เหมาะสมในการย่อยสลาย
- ออกซิเจน: การย่อยสลายทางชีวภาพของพลาสติกชีวภาพต้องการออกซิเจนในการเกิดปฏิกิริยา
เราจะเห็นได้แล้วใช่ไหมว่าบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากกระดาษและพลาสติกนั้นมีทั้งแบบย่อยสลายได้เองทางชีวภาพและแบบที่ย่อยสลายได้แต่ใช้เวลานานมากๆ เพราะฉะนั้นเราควรตระหนักรู้ถึงการลดใช้พลาสติกอย่างจริงจัง รวมไปถึงหันมาใช้แนวทางการนำกลับมาใช้ใหม่ ดังแนวทาง 4R คือ Reduce, Reuse, Recycle และ Refuse
แหล่งอ้างอิง
1.พลาสติก 101 : พี่ย่อยได้นะ หนูเชื่อหรอ?
https://www.greenpeace.org/thailand/story/6290/plastic-101-biodegradable/
2.(2023). SUSTAINABLE PACKAGING TRENDS TO LOOK FOR IN 2023
from https://felins.com/blog/sustainable-packaging-trends-look-2023
3.(2021). Biodegradable Plastic Guide: Explore the Pros, Cons, and Uses. from https://www.masterclass.com/articles/biodegradable-plastic-guide
4.กรมควบคุมมลพิษ ระบบสารสนเทศ ด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน
https://thaimsw.pcd.go.th/report1.php?year=2566